เมื่อวันที่ 6-28 กุมภาพันธ์ 2568 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในการจัดการชั้นเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ณ คณะครุศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ให้กับครูผู้สอนภาษาอังกฤษและนักศึกษาครุศาสตร์ เพื่อให้สามารถออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑
ในการอบรมครั้งนี้ คณะครุศาสตร์ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่
• คุณครูชนิดา สุทธิพันธ์ ศิษย์เก่าคณะครุศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษและการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน
• Mr. Paliska Gasper ครูผู้สอนภาษาอังกฤษจาก โรงเรียนสาธิตรามคำแหง ที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคนิคการสอนเชิงวิเคราะห์และการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดเชิงวิพากษ์
ตลอดระยะเวลาในการอบรม ผู้เข้าร่วมจะได้เรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและฝึกปฏิบัติจริง เช่น การออกแบบกิจกรรมเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์ในชั้นเรียนภาษาอังกฤษ เทคนิคการตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นการคิดลึกซึ้ง และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงรุก
คณะครุศาสตร์ขอขอบคุณวิทยากรทั้งสองท่าน รวมถึงผู้เข้าร่วมทุกคนที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีโครงการดีๆ เช่นนี้ต่อไปในอนาคตเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนและผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
The Faculty of Education organized a Workshop on Developing Analytical Thinking Skills in English Language Classroom Management from February 6 to 28, 2025 at the Faculty of Education. The primary aim of this workshop was to enhance analytical thinking skills among English language teachers and education students, enabling them to design effective and engaging lesson plans that meet the needs of 21st-century learners.
The Faculty of Education was honored to welcome two distinguished guest speakers:
• Ms. Chanida Suthipan, an alumna of the Faculty of Education, who has extensive experience in English language instruction and developing students’ analytical thinking skills.
• Mr. Paliska Gasper, an English teacher from Satit Ramkhamhaeng School, renowned for his expertise in applying analytical teaching techniques and fostering a learning environment that promotes critical thinking.
Throughout the workshop, participants engaged in both theoretical and practical sessions. Activities included designing classroom tasks to enhance analytical thinking, developing questioning techniques to stimulate deep thinking, and integrating technology to promote active learning.
The Faculty of Education extends its sincere gratitude to both speakers and all participants for their enthusiastic cooperation. We look forward to organizing more valuable programs like this in the future to continuously develop the potential of both educators and learners.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่