วันที่ 27 พฤศจิกายน 2567 อาจารย์ ดร.ธรรศนันต์ อุนนะนันทน์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้นิเทศการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ณ รงเรียนวัดเขมาภิรตาราม และโรงเรียนสตรีนนทบุรี

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศศิพร พงษ์เพียรพิศ อาจารย์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้บรรยายหัวข้อ Insights from the OPEN Course (Teaching for the Future: English for Raising Awareness of Climate Change) ณ American Hub, สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ให้แก่เจ้าหน้าที่ American Spaces จำนวน 13 ท่านจากประเทศต่างๆภายในภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย เกาหลี ลาว ปาปัวนิวกินี มองโกเลีย ไต้หวัน ไทย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
🎭 หลังจากการนำเสนอ ผศ. ดร.ศศิพร พงศ์เพลินพิศ ได้แนะนำโครงการ Panto to SDGs ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้ความรู้จากหลักสูตร OPEN สู่การเรียนการสอนในชั้นเรียนของเธอ แนวคิดนี้ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าร่วม และอาจนำไปสู่ความร่วมมือในโครงการใหม่ในอนาคต
🎤 นอกจากการนำเสนอแล้ว ผศ. ดร.ศศิพร พงศ์เพลินพิศ ยังได้เข้าร่วมคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญให้ข้อเสนอแนะต่อการนำเสนอแผนงาน (project pitching) ของผู้เข้าร่วม เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือและการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน
👏 คณะครุศาสตร์ภูมิใจกับ ผศ. ดร.ศศิพร พงศ์เพลินพิศ ในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้ อันสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในโครงการที่ทรงคุณค่านี้!
On November 22, 2024, Assistant Professor Dr. Sasiporn Phongploenpis shared her expertise in the OPEN Course (Teaching for the Future: English for Raising Awareness of Climate Change) at the American Hub, U.S. Embassy. The event welcomed 13 American Spaces local staff from across the region, including representatives from Cambodia, China, Indonesia, Korea, Laos, Mongolia, Papua New Guinea, Taiwan, Thailand, the Philippines, and Vietnam.
🎭 After her presentation, Assistant Professor Dr. Sasiporn introduced her innovative Panto to SDGs project, showcasing how she applied knowledge from the OPEN Course to her classroom teaching. The concept sparked significant interest among the audience, paving the way for potential future collaborations.
🎤 Beyond her presentation, Assistant Professor Dr. Sasiporn also joined the panel of specialists, providing expert feedback on project pitching sessions delivered by staff, fostering collaboration and growth.
👏 We are proud to see Assistant Professor Dr. Sasiporn representing SSRU (Suan Sunandha Rajabhat University and contributing to this impactful initiative!
Assistant Professor Sasiporn Phongploenpis, Ed.D (University of Exeter)
Faculty of Education | Suan Sunandha Rajabhat University (SSRU)
2021-22 Hubert H. Humphrey Fellowship Program (Fulbright Program)
Pennsylvania State University
2023-25 Committee Member (Public Relations)
Thailand TESOL Association

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยการเมืองและการปคกรอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ดร. สืบสวัสดิ์ วุฒิวรดิษฐ์ หัวหน้าสาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้มอบหมายให้ ดร.สาโรจน์ บุญเสริมวรรณ หัวหน้าแขนงวิชาการเมืองการปกครอง จัดโครงการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการสร้างสรรค์ของนักศึกษารัฐศาสตรบัณฑิต มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อทำงานของนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต และเพื่อการปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีของนักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.ชัยวัฒน์ จิวพานิชย์ หัวหน้าสาขาวิชาสาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เป็นวิทยากร ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1122 ชั้น 2 อาคาร 11 คณะครุศาสตร์
ซึ่งการจัดโครงการดังกล่าว ทำให้นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อการทำงาน และการสร้างสรรค์สำหรับเข้าทำงานในระบบราชการได้ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้กับการทำงานในชีวิตประจำวันได้ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

𝐆𝐞𝐧 𝐄𝐝 ✦ 𝐒𝐒𝐑𝐔 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การออกแบบหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์
วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ หอประชุมสุนันทานุสรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สำนักวิชาการศึกษาทั่วไปและนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุมน หนูคง รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ มอบหมายให้ นางสาวภัททิยา ตรัยที่พึ่ง หัวหน้าฝ่ายนวัตกรรมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ นางสาวณัฐณพัชร์ สุรพิพิธ นางสาวสุพัฒตรา ซัง เข้าร่วมการอบรมการออกแบบหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทางการจัดการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธานการอบรม และได้รับเกียรติจาก พญ.สิรยา กิติโยดม ผู้ช่วยผู้อำนวยการภารกิจด้านพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เพื่อรองรับการตรวจประกันคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพ AUN-QA Version 4.0 พร้อมกันทุกหลักสูตร ให้เป็นไปในทิศทางและมาตรฐานเดียวกันทั้งมหาวิทยาลัย และหลักสูตรระดับปริญญาตรีต้องเป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
✦ 𝙇𝙄𝙉𝙀 𝙊𝙛𝙛𝙞𝙘𝙞𝙖𝙡 𝘼𝙘𝙘𝙤𝙪𝙣𝙩 @genedssru
✦ ติดตามข่าวสารของ 𝙂𝙚𝙣 𝙀𝙙 𝙎𝙎𝙍𝙐 ได้ที่
บรรณาธิการข่าว: ผศ.ดร.ณัฐภัทร แก้วรัตนภัทร์
ภาพและข้อมูล: ทศพล ปิมปา

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายนที่ผ่านมา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ นำทีมโดย ผศ.ดร.เมธา หริมเทพาธิป ได้จัดกิจกรรมวันจบหลักสูตรระยะสั้น #นักฟังสุขภาวะทางปัญญาเพื่อสนทนาเรื่องชีวิตและความสุขระยะท้ายในผู้สูงวัย โดยผู้เข้าร่วม 18 ท่าน ได้ร่วมถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติใน Nursing Home ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา
✨ ไฮไลต์กิจกรรม:
- ช่วงเช้า
➡️ ทบทวนความรู้และการเติบโตด้านสุขภาวะทางปัญญาของผู้เรียน
- ช่วงบ่าย
➡️ แบ่งปันแนวทางการต่อยอดและกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนร่วมกันในอนาคต
➡️ พิธีรับมอบใบประกาศนียบัตร
หลักสูตรนี้เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ดังนี้
✅ เป้าหมายที่ 3: การสร้างสุขภาวะที่ดี (Good Health and Well-being)
- หลักสูตรนี้ช่วยเสริมทักษะการดูแลผู้สูงวัยในช่วงบั้นปลายชีวิต และสร้างพื้นที่สนทนาเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจ
✅ เป้าหมายที่ 4: การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education)
- ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านจิตใจและทักษะการฟังที่มีคุณค่า พร้อมนำความรู้นี้ไปใช้ในชุมชน
✅ เป้าหมายที่ 17: การสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals)
- ความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตร เช่น We Oneness, เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม, และศูนย์พอเพียงศึกษา เป็นต้น ได้ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการและสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนสังคม
ขอขอบคุณวิทยากรและพันธมิตรทุกภาคส่วนที่ร่วมกันทำให้หลักสูตรนี้จบลงอย่างงดงาม ได้แก่ We Oneness, เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม, Peaceful Death, ภาคีเครือข่ายพี่เลี้ยงจิตอาสาที่มาเข้าร่วมสนับสนุน ได้แก่ ธนาคารสติ เครือข่ายชีวิตสิกขา และได้รับเกียรติจากวิทยากรหลัก คือ ศ.ดร.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการเยือนเย็นวิสาหกิจเพื่อสังคม และกระบวนกร WE ONENESS ได้แก่ 1) คุณรชต แซ่ตั้น (ออย) กระบวนกร/ผู้ร่วมออกแบบโครงการ 2) ปรีดี วิทยานนท์ (ปลาเข็ม) กระบวนกร/ผู้ร่วมออกแบบโครงการ