คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ขอแสดงความยินดีกับ
นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ คว้ารางวัลนานาชาติ ชนะการแข่งขันในรายการ “TechELT Hackathon 2024: Revolutionizing English Language Teaching with AI”
TechELT Hackathon 2024 Hackathon ริเริ่มขึ้นโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิพร พงศ์เพลินพิศ อาจารย์สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ร่วมกับคณะศิษย์เก่าฟุลไบร์ท ที่เข้าศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศในโครงการ Hubert H. Humphrey Fellowship Program 2021/2022 ณ มหาวิทยาลัยแห่งรัฐ Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากการเข้าร่วมโครงการ TechELT Hackathon 2024 Hackathon นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้หัวข้อ Revolutionizing English Language Teaching with AI ตลอดจนเข้ารับคำปรึกษาจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบและนำเสนอแผนการสอนทักษะภาษาอังกฤษโดยใช้ AI ได้แก่ ทักษะฟัง พูด อ่าน และเขียน ตั้งแต่ 14 กรกฎาคม – 8 กันยายน 2567 รวมเป็ฯระยะเวลา 9 สัปดาห์
จากผู้เข้าแข่งขันจำนวนกว่า 200 คนจากนานาประเทศทั่วโลก ผ่านการคัดเลือกรอบที่ 1 จำนวน 80 คน หลังการเข้าร่วมโครงการเชิงปฏิบัติการทั้ง 4 หัวข้อ ได้แก่ (1) Introduction to AI in Language Education, (2) AI and Language Assessment, (3) Empowering Reading and Writing Skills through AI, (4) AI for Developing Listening and Speaking มีผู้ผ่านเข้ารอบสู่รอบการแข่งขันจำนวน 40 คน โดยคณะผู้จัดได้จัดกลุ่มแบ่งคละประเทศ เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสตร์การสอนในบริบทของแต่ละประเทศ พร้อมรับคำแนะนำจากวิทยากรผู้ชำนาญ
สาขาวิชาภาษาอังกฤษขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาทั้ง 4 คุณทุกคนคือ #prideofssru
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน Gen-Ed
ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567
รายวิชา
• GEN0314 โยคะ
✦ 𝙇𝙄𝙉𝙀 𝙊𝙛𝙛𝙞𝙘𝙞𝙖𝙡 𝘼𝙘𝙘𝙤𝙪𝙣𝙩 @genedssru
✦ ติดตามข่าวสารของ 𝙂𝙚𝙣 𝙀𝙙 𝙎𝙎𝙍𝙐 ได้ที่
✦ ช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน Gen-Ed
ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567
รายวิชา
• GEN0314 โยคะ
✦ 𝙇𝙄𝙉𝙀 𝙊𝙛𝙛𝙞𝙘𝙞𝙖𝙡 𝘼𝙘𝙘𝙤𝙪𝙣𝙩 @genedssru
✦ ติดตามข่าวสารของ 𝙂𝙚𝙣 𝙀𝙙 𝙎𝙎𝙍𝙐 ได้ที่
✦ ช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

ภาพบรรยากาศการเรียนการสอน Gen-Ed
ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567
วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2567
รายวิชา
• GEN0314 โยคะ
✦ 𝙇𝙄𝙉𝙀 𝙊𝙛𝙛𝙞𝙘𝙞𝙖𝙡 𝘼𝙘𝙘𝙤𝙪𝙣𝙩 @genedssru
✦ ติดตามข่าวสารของ 𝙂𝙚𝙣 𝙀𝙙 𝙎𝙎𝙍𝙐 ได้ที่
✦ ช่องทางประชาสัมพันธ์ข่าวสาร

เมื่อวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2567 กสทช.และ กตป. ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจัดการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับโครงการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและการบริหารงานของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2567 ณ ห้องไอวี่ 4 และห้องไอวี่ 5 ชั้น 2 อาคารทีเค 3 โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น เขตหลักสี่ กทม. โดยมี คุณอารีวรรณ จตุทอง กรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน (กตป.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยรองศาสตราจารย์พิเศษ พลตำรวจโท ดร.ณรงค์ กุลนิเทศ ประธาน หลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ และคณะ ทำวิจัยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการและ การบริหารงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ กสทช. โดยรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ประเมินผล สรุปผลการศึกษา ความเห็น และข้อเสนอแนะในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี 2567 เพื่อจัดทำรายงานให้เกิดประโยชน์ และส่งผลต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่สามารถใช้ประกอบการ ประเมินผลได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริงและมีการรับฟังความคิดเห็นของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วประเทศ ซึ่งรายงานดังกล่าวจะนำเสนอต่อรัฐสภาต่อไป
คุณอารีวรรณ จตุทอง กตป. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า เนื่องจากกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ของ กสทช. มีมิติในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค มีกลุ่มเป้าหมาย ต้องดูแลเป็นพิเศษคือกลุ่มเปราะบาง ประกอบด้วย เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ โดยหน่วยงาน ของ กสทช. ควรจะรับรู้ปัญหาในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมายนี้และควรแก้ไขปัญหาเฉกเช่นกับผู้บริโภค ที่เป็นคนปกติทั่วไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ชี้ชัดเจนว่า งานของ กสทช. ต้องคุ้มครองสิทธิของประชาชนทุกคนอย่าง เสมอภาคและเท่าเทียมกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดในปี 2567 ของ กสทช. ที่จะต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน คือการให้ประชาชนได้รู้เท่าทันในเรื่องการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ โทรคมนาคม เพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อของการถูกหลอกลวง
คุณอารีวรรณ จตุทอง กตป. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรู้ คือหัวใจเหมือนสติเตือน ให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข่าวสาร ภาพ และเสียง รวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องมีความเท่าทันและมีภูมิคุ้มกันตนเองได้ นอกจากนี้ การทำงานสร้างเครือข่ายของผู้บริโภคควรสนับสนุนให้มีความรู้ความสามารถในทุกพื้นที่ ทั้งนี้ ประชาชนคาดหวังว่า กสทช. จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มความสามารถและทำงานบูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงาน เพื่อร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งให้กับทุกภาคส่วน สำหรับการจัดประชุมสนทนากลุ่มครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือของทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม ที่สานพลังในการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ