ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ(วาระพิเศษ)✨
📝วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 เวลา 13.00-15.30 น.
👉คณะผู้บริหารวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ อรรถารส คณบดีวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนา ศิริเจริญวงศ์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร , อาจารย์ ดร.หนึ่งฤทัย โพธิ์ศรี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ , อาจารย์ ดร.อารยา ทิพย์วงศ์ รองคณบดีฝ่ายแผนงานและประกันคุณภาพ , รองศาสตราจารย์ ดร.อรุณี เฮงยศมาก รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการ ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รังสรรค์ มาระเพ็ญ รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา , นายนพปฎล อินยาศรี หัวหน้าสำนักงาน , อาจารย์สุภาวดี เลิศสำราญ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภากร สอนสนาม อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ(วาระพิเศษ) โดยมีวาระเพื่อพิจารณา ดังนี้
1. การพิจารณาผลสอบ Comprehensive ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
2. การพิจารณาการกำกับติดตามตัวชี้วัดการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
3. การพิจารณางบประมาณคงเหลือ และแนวทางการบริหารงบประมาณ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ
📌ณ ห้องประชุมพรรณพฤกษา ชั้น 5 อาคารผดุงชีวา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา วิทยาเขตสมุทรสงคราม และรูปแบบออนไลน์ Google Meet
*****************************************

ผู้บริหาร บุคลากร คณะวิทยาการจัดการ เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หมวด 5 บุคลากร วิเคราะห์รายละเอียดของ Strength & OFI และหมวดผลลัพธ์ (ที่สัมพันธ์กัน) ระดับสถาบัน
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 คณะวิทยาการจัดการ นำโดยอาจารย์ ดร.ปิติมนัส บรรลือ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ร่วมด้วย ดร.จิณห์จุฑา ศรีเหรา หัวหน้าสำนักงานคณบดี นางสาวสุพัสวี โมรากุล ฝ่ายบุคลากร เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ หมวด 5 บุคลากร “วิเคราะห์รายละเอียดของ Strength & OFI และหมวดผลลัพธ์ (ที่สัมพันธ์กัน) จัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุง แนะนำแนวทางในการปรับปรุงด้วยการใช้กระบวนการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ (QWP) เพื่อยกระดับการพัฒนา SSRU” ระดับสถาบัน โดยมีอาจารย์พัฒนชัย กุลสิริสวัสดิ์ และอาจารย์พนอ เจริญศิริ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ มีผู้บริหารหน่วยจัดการศึกษา หัวหน้าสำนักงานคณบดี และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมอบรม ณ ห้องประชุมสื่อโสตทัศน์ อาคาร 33 ชั้น 4

เปิดประสบการณ์การเรียนรู้สุดล้ำ! สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ชวนน้อง ๆ สมัครเข้าเรียน เพื่อสร้างทักษะการออกแบบวงจรดิจิทัล และควบคุมหุ่นยนต์จริงผ่านการเขียนโปรแกรมบนไมโครโปรเซสเซอร์
สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง! ในรายวิชา "วงจรดิจิทัลและไมโครโปรเซสเซอร์" นักเรียนที่เข้ามาเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะได้ฝึกออกแบบวงจรดิจิทัลบนชิป FPGA ด้วยซอฟต์แวร์ Xilinx Vivado และ เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ขนาดเล็ก บนไมโครคอนโทรลเลอร์ของบอร์ด Arduino Nano ภายใต้การสอนของ ผศ. ดร.เศรษฐกาล โปร่งนุช หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์
🚀 หลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์ที่เน้นการลงมือทำจริง
🔧 ฝึกใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีระดับอุตสาหกรรม
🤖 สร้างและควบคุมหุ่นยนต์ได้ตั้งแต่ปี 1
🎯 พร้อมต่อยอดสู่เส้นทางอาชีพด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ
.
👉สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์ (Robotics Engineering)
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
👉 เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2568 รอบ 2 Quota ตั้งแต่วันนี้ - 31 มีนาคม 2568
ลุ้น! รับทุนการศึกษา 20,000 บาท จากบริษัท USE. FLO-LINE CO.,LTD
📌 สมัครได้ที่ https://admission.ssru.ac.th
โรบอทพร้อม: https://bit.ly/3wxQom

คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และ Prart Music Global จัดกิจกรรม OVD Music Workshop No.3 “กว่าจะเป็น Bodyslam” วิทยากรโดย คุณธนดล ช้างเสวก หรือ “ปี๊ด” มือเบสวง Bodyslam ซึ่งคุณปี๊ดได้มาแชร์ประสบการณ์ ไอเดีย และเรื่องราวบนเส้นทางดนตรี ให้กับนักศึกษาสาขาวิชาดนตรี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ดำเนินรายการโดย อ. ปราชญ์ อรุณรังษี ณ ห้องปฏิบัติการทางดนตรี ชั้น 5 คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลยัราชภัฏสวนสุนันทา
▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾▾
งานประชาสัมพันธ์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
instagram : far_ssru_fanpage
tiktok : @farssru
Tel. 0-2160-1390-91 ext.100

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 นักศึกษาสาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ภายใต้การดูแลของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คธาวุฒิ ไวยสุศรี
ได้เข้าร่วมฟังการบรรยายพิเศษจาก ศาสตราจารย์โคโมริ ไดสุเกะ ผู้เชี่ยวชาญด้านภัยพิบัติด้านน้ำ มหาวิทยาลัยโทโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น
ในหัวข้อ “Toward Designing Sustainable Development Based on Physical and Social Sciences Evidence”
ณ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ห้อง TWP–304
โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริชาติ เวชยนต์ อาจารย์ประจำภาควิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์และสาธารณภัย เป็นผู้ดำเนินรายการ
การบรรยายพิเศษในหัวข้อดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษารายวิชา GEO3409 การจัดการภูมิศาสตร์ภูมิภาค เข้าใจบริบทด้านการจัดการภัยพิบัติทางน้ำ และเป็นการจุดประกายองค์ความรู้ด้านภัยพิบัติเพื่อนำไปต่อยอดในการวางแผนทำวิจัยในชั้นปีที่ 4